โครงการวิจัยดรรชนีความแห้งแล้งสำหรับประเทศไทย

 

สรุปการประชุมโครงการวิจัยดรรชนีความแห้งสำหรับประเทศไทย

ครั้งที่ 1/2554 ประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

ดรรชนี AI                - AI : Aridity Anomaly Index ; Aridity หมายถึงพื้นที่แล้งเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งใช้ผลต่างของศักย์การคายระเหยและการคายระเหยจริง โดยไม่ใช้ปริมาณฝนมาพิจารณา พบว่า AI ในเดือนธันวาคม 2553 ช่วง 10 วัน บริเวณที่แล้งมากส่วนใหญ่อยู่ที่ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง รวมทั้งภาคใต้ด้วย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในเกณฑ์แล้งเล็กน้อยถึงปานกลาง
ข้อเสนอแนะ                - ควรปรับเปลี่ยนคำอธิบาย (Legend) จากตัวเลขให้เป็นเกณฑ์ความแห้งแล้ง

ดรรชนี MAI                - เป็นอัตราส่วนของปริมาณฝนต่อศักย์การคายรเหย พบว่า MAI ในช่วง 22 – 31 มกราคม 2554 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนไม่เพียงพอในการใช้น้ำของพืช ส่วนในภาคใต้มีฝนเพียงพอยกเว้นตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไปฝนไม่เพียงพอ
ข้อเสนอแนะ                - ควรปรับเปลี่ยนคำอธิบาย (Legend) จากตัวเลขให้เป็นเกณฑ์ความแห้งแล้ง

จำนวนวันสะสมที่มีฝนตกน้อยกว่า 3 มม. (Number of Consecutive Dry Days)
                                - วันสะสมเกิน 15 วันขึ้นไปพืชเริ่มเหี่ยวแห้งจากการสูญเสียน้ำ
                                - พบว่าในเดือนมกราคม 2554 ในภาคตะวันออกเฉียงและภาคตะวันออก ไม่มีฝนตกสะสมติดต่อกันเกิน 15 วัน ส่วนภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้

..........................................

 

 

   
   
   

 

| Contact Us | agromet507©yahoo.com ; Copyright@2011 : Agrometeorological Division, Meteorological Development Bureau, TMD

 

ดรรชนีชี้วัดความแห้งแล้งด้านอุตุนิยมวิทยาเกษตร